หน้าเว็บ

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วัตุประสงค์ของการวิจัย


             พวงรัตน์ ทวีรัตน์ (2538 : 6) กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ว่า
             1.เพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้หรือทฤษฎี เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์มีความอยากรู้อยากเห็นและอยากรู้เหตุผลของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น จึงทำการวิจัยเพื่อหาคำตอบ ทำให้เข้าใจและมีความรู้ใหม่ ๆ เป็นการเพิ่มพูนวิทยาการให้กว้างขวางลึกซึ้ง
             2.เพื่อแก้ไขปัญหา ในการดำรงชีวิตของมนุษย์มักมีปัญหาหรือเหตุขัดข้องขึ้นอยู่เสมอ เช่น ปัญหาในการทำงาน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการจราจร เป็นต้น มนุษย์จึงต้องทำการวิจัยเพื่อศึกษาสาเหตุและแนวทางแก้ปัญหา
             3.เพื่อทดสอบหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง ความรู้และทฤษฎีที่ได้มา เนื่องจากข้อเท็จจริงหรือความรู้มีการเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลา และสถานการณ์ที่แตกต่างกัน จึงควรมีการทดสอบว่าความรู้หรือทฤษฎีเหล่านั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกหรือไม่
             ภัทรา นิคมานนท์  (2542 : 6) กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ว่า
             1.เพื่อบรรยาย หรือพรรณนาข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นการทำวิจัยที่เริ่มจากความไม่รู้ ผู้วิจัยจึงมุ่งทีจะค้นหาความรู้หรือรายละเอียดของข้อสงสัยนั้น ๆ ว่ามีลักษณะอย่างไร มีข้อเท็จจริงอะไรบ้าง เช่น การศึกษาลักษณะประชากรของกรุงเทพมหานคร การศึกษาบริบทชุมชน ซึ่งจะทำให้ผู้วิจัยทราบข้อเท็จจริงที่เป็นปัจจุบัน
             2.เพื่ออธิบายข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นการทำวิจัยเพื่ออธิบายว่าปรากฏการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น และเกิดผลกระทบอะไรบ้าง เช่น สภาวะโลกร้อน ปัญหาหนี้สินของเกษตรกร เป็นต้น
             3.เพื่อทำนายหรือพยากรณ์ ปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้น เป็นการทำวิจัยที่ต้องการบรรยายหรืออธิบายสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น โดยอาศัยความรู้หรือข้อมูลที่ได้จากการวิจัยในอดีตและหรือปัจจุบันมาเป็นแนวทางในการคาดคะเนเหตุการณ์ล่วงหน้าว่าเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเกิดผลอะไร อย่างไร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการทำงานในอนาคต
              บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (2546 : 7) กล่าวถึงวัตถุประสงคืของการวิจัยไว้ว่า
              1.เนื้อหาเชิงบรรยาย การเขียนเนื้อหาวัตถุประสงค์ในลักษณะนี้จะบอกประเด็นปัญหาการวิจัยว่าเป็นอย่างไร หรือมีมากน้อยเพียงใด
              2.เนื้อหาของวัตถุประสงค์เชิงเปรียบเทียบ การเขียนเนื้อหาวัตถุประสงค์ในลักษณะนี้จะบอกประเด็นของการเปรียบเทียบ เช่น เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเปิดรับสื่อโทรทัศน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยและนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอื่น ๆ
              3.เนื้อหาของวัตถุประสงค์เชิงสัมพันธ์ การเขียนเนื้อหาวัตถุประสงค์ในลักษณะนี้จะบอกความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันของตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ซึ่งมีคำที่เกี่ยวข้องหลายคำ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปัจจัยที่ทำให้เกิดผลต่อ เป็นต้น
               สรุป
                วัตถุประสงค์ของการวิจัย เป็นทิศทางของการดำเนินการวิจัยและทำให้เกิดความชัดเจนว่าในการวิจัยเรื่องนั้น ๆ ต้องการศึกษาอะไรในด้านใดบ้าง มีวัตถุประสงค์หลักหรือวัตถุประสงค์ย่อย ๆ อะไรบ้าง โดยปรกติวัตถุประสงค์ของการวิจัยจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยทำให้ชื่อเรื่องหรือปัญหาการวิจัยมีความชัดเจนมากขึ้น
                 ที่มา
                 บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์.  (2546).  คู่มือการวิจัย การเขียนรายงาน การวิจัยและวิทยานิพนธ์.  (พิมพ์ครั้งที่7).  กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักท์.
                 พวงรัตน์ ทวีรัตน์.  (2538).  การวิจัยทางพฤติกรรมและสังคมศาสตร์.  (พิมพ์ครั้งที่ 6).  กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
                ภัทรา นิคมานนท์.  (2542).  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย.  กรุงเทพฯ : อักษราพิพัฒน์.

คำถามของการวิจัย


         สุวิมล ว่องวาณิช และ นงลักษณ์  วิรัชชัย (2550 :149-150) ได้อธิบายความหมายไว้ว่า คำถามวิจัย หมายถึง ข้อความที่เป็นประโยคคำถาม ซึ่งแสดงให้เห็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการค้นหาคำตอบ คำถามวิจัยและประเด็นวิจัยมีความคล้ายคลึงกัน
            อาทิวรรณ โชติพฤกษ์  (2553 : 7)  กล่าวว่า การตั้งคำถามเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะคำถามวิจัยที่ผู้วิจัยตั้งขึ้นบ่งบอกให้ทราบถึงประเด็นที่ผู้วิจัยต้อง การทราบหรือทำความเข้าใจในเรื่องที่เลือกเป็นหัวข้อวิจัยนั้นๆ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้วิจัยประเมินว่าต้องทำงานวิจัยอย่างไรและในทิศทางใด จึงจะนำไปสู่คำตอบของคำถามนั้นๆ  ทั้งนี้ผู้วิจัยอาจเริ่มตั้งคำถามด้วยวลีคำถาม เช่น  อะไร  อย่างไร  ที่ไหน  เมื่อไร  กับใคร
             องอาจ  นัยพัฒน์  (2551 : 43-44) ให้แนวทางไว้ว่า การเขียนปัญหาการวิจัย ในรูปคำถามสามารถเขียนได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
            1. ประเด็นคำถามเชิงพรรณนา ได้แก่ การกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัยในรูปคำถามที่ว่า อะไรคือ อะไรเป็น
การตอบประเด็นคำถามดังกล่าวนี้ แสดงเป็นนัยว่า นักวิจัยจะต้องอาศัยการวิจัยเชิงสำรวจ 
            2. ประเด็นคำถามเชิงความสัมพันธ์  ได้แก่ การกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัย ในรูปของคำถามที่มุ่งหาคำตอบว่า
ตัวแปร มีความสัมพันธ์กับตัวแปร Y หรือไม่”  หรือ ตัวแปร พยากรณ์ตัวแปร Y ได้หรือไม่”  การสืบหาคำตอบของคำถามทั้ง 2 ประเด็นนี้ แสดงเป็นนัยว่านักวิจัยต้องออกแบบการวิจัยเป็นประเภทการศึกษาสหสัมพันธ์
             3. ประเด็นคำถามเชิงเปรียบเทียบ ได้แก่ การกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัย ในรูปของคำถามที่มุ่งเน้นการเปรียบเทียบพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ที่สนใจ ระหว่างกลุ่มควบคุมที่ที่ดำเนินตามสภาวะปกติและกลุ่มทดลองที่จัดกระทำทางการ ทดลองขึ้น กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ รูปแบบของคำถามประเภทนี้มุ่งหาคำตอบว่า  มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างหรือวิธีการที่นักวิจัยดำเนินการขึ้นหรือไม่”  คำถามวิจัยประเภทนี้ต้องอาศัยแบบการวิจัยเชิงทดลองหรือการศึกษาย้อนรอยเปรียบเทียบหาสาเหตุ มาใช้ในการสืบค้นหาคำตอบ
              สรุป
               คำถามของการวิจัย การตั้งคำถามการวิจัยนั้นต้องให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ข้อความของประโยดคำถามต้องชัดเจน ต้องการค้นหาคำตอบ ตรงประเด็นที่ผู้วิจัยต้องการทราบ และช่วยให้ผู้วิจัยประเมินได้ว่าจำทำงานวิจัยไปในทิศทางใด เพื่อที่จะนำไปสู่คำตอบของคำถามนั้น
               ที่มา
               สุวิมล  ว่องวานิช.  (2550).   แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์.   (พิมพ์ครั้งที่ 2).  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
               องอาจ นัยพัฒน์.  (2551).  วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.  (พิมพ์ครั้งที่ 3).   กรุงเทพมหานคร : สามลดา.
               อาทิวรรณ  โชติพฤกษ์.  (2553).  ก้าวสู่ความเป็นนักวิจัยมืออาชีพ.  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง


สุวิมล ติรกานันท์ (2548:53) กล่าว่าการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องนั้นมี 5 ประการ ดังนี้
               1.ป้องกันการทำซ้ำซ้อน
               2.ทำให้สามารถกำหนดขอบเขตได้ชัดเจนไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป
               3.ทำให้ผู้วิจัยเสนอแนวคิดหรืออภิปรายผลงานวิจัยที่ค้นพบได้ถูกต้องและกว้างขว้างครอบคลุมประเด็นที่ต้องศึกษา
              4.เตรียมการป้องกันความคลาดเคลื่อนเนื่องจากตัวแปรแทรกซ้อน
              5.ช่วยทำให้ผู้วิจัยมีความรู้ในเรื่องที่ทำการวิจัยมากขึ้น เป็นการทบทวนความรู้เดิมและเพิ่มเติมความรู้ใหม่ ในเวลาเดียวกัน
        องอาจ นัยพัฒน์ (2548:63-64) กล่าวว่า การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องนั้นมีทั้งหมด 6 ประการ ดังนี้
                       1.ช่วยให้นักวิจัยได้กรอบแนวคิดทฤษฎีในการวิจัย
                       2.ช่วยในการนิยามและกำหนดขอบเขตของหัวข้อปัญหาการวิจัย
                       3.ช่วยหลีกเลี่ยงการทำวิจัยที่มีความสำคัญน้อยและซ้ำซ้อนกัน
                       4.ช่วยในการกำหนดและปรับปรุงระเบียบวิธีการวิจัย
                       5.ช่วยในการตั้งสมมติฐานในการวิจัยเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม
                       6.ช่วยให้ได้แนวทางใหม่สำหรับการวิจัยในโอกาสต่อไป
      ล้วน สายยศ และ อังคนาสายยศ (2528:34-35) กล่าวว่าการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมี 7 ประการ ดังนี้
                      1.เพื่อค้นหาความจริงเป็นความจริงระดับสูงที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าเป็นอย่างไร
                      2.เพื่อช่วยในการนิยามปัญหา นิยามเรื่องวิจัยให้กระจ่าง มีทิศทางที่ชัดเจน
                      3.ช่วยในการเลือกหัวข้อวิจัยได้ตรงจุดมากขึ้น
                      4.ช่วยให้ทราบเทคนิคการวิจัย
                      5.หลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อน
                      6.ช่วยในการแปลความหมายข้อมูล
                      7.ช่วยในการจัดทำรายงานวิจัยได้ถูกต้อง
                      สรุป
                      จากที่กล่าวมาข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า ทบทวนวรรณกรรม มี7 ประการดังนี้
                     1.ทำให้สามารถกำหนดขอบเขตได้ชัดเจนไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป
                     2.ทำให้ผู้วิจัยเสนอแนวคิดหรืออภิปรายผลงานวิจัยที่ค้นพบได้ถูกต้องและกว้างขว้างครอบคลุมประเด็นที่ต้องศึกษา
                    3.ช่วยในการเลือกหัวข้อวิจัยได้ตรงจุดมากขึ้น
                    4.หลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อน
                    5.ช่วยทำให้ผู้วิจัยมีความรู้ในเรื่องที่ทำการวิจัยมากขึ้น เป็นการทบทวนความรู้เดิมและเพิ่มเติมความรู้ใหม่ ในเวลาเดียวกัน
                   6.เพื่อค้นหาความจริงเป็นความจริงระดับสูงที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าเป็นอย่างไร
                   7.ช่วยหลีกเลี่ยงการทำวิจัยที่มีความสำคัญน้อยและซ้ำซ้อนกัน
           ที่มา
           ล้วน สายยศ และอังคนา สายยศ.  (2555, ธันวาคม 26).  ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง.   http://http://netra.lpru.ac.th
           สุวิมล ติรภานันท์.  (2548).  ระเบียบการวิจัยทางสังคมศาสตร์.  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
            องอาจ นัยพัฒน์.  (2548).  วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และ  สังคมศาสตร์.  กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย

              สุชาติ  ประสิทธิ์รัฐสินธ์ (ม.ป.ป.)  กล่าวว่าการวิจัยหมายถึง กระบวนการที่ดำเนินไปอย่างมีระบบระเบียบและกฎเกณฑ์ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการกับข้อมูล วิเคราะห์และตีความหมายข้อมูล เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบอันถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้
            ที่มาของปัญหาการวิจัย

             1.การกำหนดปัญหาสำหรับวิจัย             2.การศึกษาเอกสารและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง             3.การสร้างกรอบของทฤษฎี
             4.การกำหนดสมมติฐานของการวิจัย
             5.การให้คำจำกัดความของตัวแปร             6.การกำหนดวิธีวัดตัวแปร             7.การกำหนดรูปแบบของการวิจัย
             8.การวิเคราะห์พิจารณาเลือกกลุ่มประชากร
             9.การเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
            10.การกำหนดวิธีวิเคราะห์ข้อมูล            11.การแปรผลที่ได้จากการวิเคราะห์
            12.การกำหนดวิธีการเขียนรายงานผลที่ได้จากการวิจัย

           มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  (2544) การวิจัยหมายถึง การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์หรือทดลองอย่างมีระบบโดยอาศัยอุปกรณ์หรือวิธีการ เพื่อให้พบข้อเท็จจริงหรือหลักการไปใช้ในการตั้งกฎ ทฤษฎีหรือแนวทางในการปฏิบัติ
           ที่มาของปัญหาการวิจัย
           1.การกำหนดปัญหาวิจัย
           2.การทบทวนวรรณกรรม
           3.การกำหนดกรอบแนวคิดของการวิจัย
           4.การกำหนดวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัย
           5.การออกแบบการวิจัย
           6.การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
           7.การสร้างเครื่องมือการวิจัย
           8.การเก็บรวบรวมข้อมูล
           9.การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล
         10.การอภิปรายผลและเสนอข้อสรุปของการวิจัย
          วันทนีย์  ชูศิลป์ (2535) การวิจัยเป็นขวนการแสวงหาความรู้ความจริงด้วยระบบและวิธีการที่น่าเชื่อถือเพื่อที่จะได้นำความรู้และความจริงนั้นๆไปใช้ในการตัดสินใจปัญหาหรือเพื่อก่อให้เกิดความรู้หรือทฤษฎีใหม่
           ที่มาของปัญหาการวิจัย
           1.กำหนดปัญหา
           2.สร้างสมมุติฐาน
           3.การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
           4.การกำหนดตัวแปร
           5.กำหนดคำนิยามเชิงปฏิบัติการ
           6.ออกแบบการวิจัย
          7.สร้างเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล
          8.วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
          9.เขียนรายงานการวิจัย
          สรุป
          การวิจัยหมายถึง เป็นกะบวนการเสาะแสวงหาความรู้จากปัญหาที่ชัดเจนอย่างมีระบบและกฎเกณฑ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการเก็บข้อมูล วิเคราะห์และตีความหมายข้อมูล โดยมีการทดลองสมมุติฐานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในเรื่องนั้นๆและสามารถสรุปที่มาของปัญหาการวิจัยได้เป็นข้อๆดังนี้
           1.กำหนดปัญหา
           2.ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
           3.กำหนดกรอบแนวคิด
           4.กำหนดตัวแปร สมมติฐาน และวัตถุประสงค์ของการวิจัย
           5.ออกแบบ และกำหนดรูปแบบการวิจัย
           6.ให้คำจำกัดความ
           7.สร้างเครื่องมือการวิจัย
           8.เก้บรวบรวมข้อมูล
           9.วิเคราะห์ข้อมูล
         10.สรุปผลการวิจัย
         11.เขียนรายงานการวิจัย
         ที่มา
         สุชาติ  ประสิทธิ์รัฐสินธ์.  (ม.ป.ป.).  สถิติและการวิจัยเบื้องต้น.  กรุงเทพมหานคร : สามเจริญพานิช.
         มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.  (2544).  สถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์.  นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
         วันทนีย์  ชูศิลป์.  (2535).  การวิจัยเบื้องต้นทางการศึกษา.  ปัตตานี : ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ชื่อเรื่อง


รศ.ดร.บุญชม ศรีสะอาด(2546 : 165) กล่าวว่าชื่อเรื่องที่จะวิจัยต้องตรงกับปัญหาที่ศึกษา มีความเฉพาะเจาะจง ใช้ภาษาที่กะทัดรัด มีความชัดเจนและไม่ซ้ำซ้อนกับเรื่องอื่นๆที่มีผู้วิจัยแล้ว
เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์ (2534 : 32) กล่าวว่าต้องเป็นชื่อที่กะทัดรัด มีเนื้อความที่ชัดเจน มีความหมายในตัวมันเอง โดยสามารถสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบได้ต้องตั้งชื่อให้แสดงถึงมโนมติ (Concept) ของตัวแปรหรือแสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรในปัญหานั้นๆ ต้องใช้ภาษาให้ชัดเจนเข้าใจง่าย ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยของผู้อื่น ถึงแม้ประเด็นที่ศึกษาจะคล้ายกันก็ตาม
รศ.ดร.ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และ อ.อัจฉรา ชำนิประศาสน์ (2537 : 33) กล่าวว่า การตั้งชื่อเรื่องวิจัยมีแนวคิดแบ่งออกได้เป็น2แนวคิดคือการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้มีความหมาย มีความยาวเท่าใดก็ได้แต่ต้องกำหนดขอบเขตให้ชัดเจน ให้ผู้อ่านงานวิจัยรู้ว่าทำการวิจัยอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อใด การตั้งชื่อเรื่องวิจัยอย่างสั้นๆที่บอกความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ส่วนรายละเอียดอื่นๆจะอยู่ในขอบเขตของการวิจัย
สรุป
ชื่อเรื่องที่จะวิจัยต้องตรงกับปัญหาที่ศึกษา มีความเฉพาะเจาะจง ใช้ภาษาที่กะทัดรัด ต้องใช้ภาษาให้ชัดเจน เข้าใจง่าย ต้องตั้งชื่อให้แสดงถึงมโนมติ(Concept) ของตัวแปรหรือแสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรในปัญหานั้นๆการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้มีความหมาย มีความยาวเท่าใดก็ได้แต่ต้อง กำหนดขอบเขตให้ชัดเจน ให้ผู้อ่านงานวิจัยรู้ว่าทำการวิจัยอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อใด การตั้งชื่อเรื่องวิจัยอย่างสั้นๆ ที่บอกความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ส่วนรายละเอียดอื่นๆจะอยู่ในขอบเขตของการวิจัย
ที่มา
บุญชม ศรีสะอาด.  (2546).  การวิจัยเบื้องต้น.  กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. 
            ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์.  และอัจฉรา ชำนิประศาสน์.  (2537).  ระเบียบวิธีการวิจัย.  กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพิ์.
            เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์.  (2534).  การวิจัยเทคโนโลยีการศึกษา.  กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น