หน้าเว็บ

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment)


                       สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา.(http://surinx.blogspot.com//) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือรุสโซ (Rousseau) ฟรอเบล (Froebel) และเพสตาลอสซี (Pestalozzi) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อดังนี้
ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
    1. มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดีและการกระทำใด ๆ เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (good - active)ธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง หากได้รับเสรีภาพในการเรียนรู้ มนุษย์ก็จะสามารถพัมนาตนเองไปตามธรรมชาติ
    2. รุสโซมีความเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด้กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก
    3. รุสโซเชื่อว่าธรรมชาติ คือ แหล่งความรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ ไปตามธรรมชาติ คือการเรียนรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน มิใช่การเรียนจากหนังสือหรือจากคำพูดบรรยาย
    4. เพสตาลอสซีมีความเชื่อว่า คนมีธรรมชาติปนกันใน ลักษณะ คือ คนสัตว์ ซึ่งมีลักษณะเปิดเผย เป็นทาสของกิเลส คนสังคม มีลักษณะที่จะเข้ากับสังคม คล้อยตามสังคม และคนธรรม ซึ่งมีลักษณะของการรู้จักผิดชอบชั่วดี คนจะต้องมีการพัฒนาใน ลักษณะ ดังกล่าว
    5. เพสตาลอสซี เชื่อว่าการใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอน จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
    6. ฟรอเบล เชื่อว่าควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็ก อายุ 3 – 5 ขวบ โดยให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
    7. ฟรอเบลเชื่อว่าการเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก

หลักการจัดการศึกษา/การสอน
   1. การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กมีสภาวะที่ต่างไปจากวัยอื่น ๆ
   2. การจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ให้เสรีภาพแก่เด็กที่จะเรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระ
   3. ลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก คือการจัดให้เด็กได้เรียนรู้จากธรรมชาติและเป็นไป
 ตามธรรมชาติ ได้แก่
    3.1 ให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ
    3.2 ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
    3.3 ให้เด็กได้เรียนจากของจริงและประสบการณ์จริง
    3.4 ให้เด็กได้เรียนรู้จากผลของการกระทำของตน

    3.5 การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เด็กจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก
                       ทิศนา แขมมณี (2554:45-48)  กล่าวไว้ว่าการพัฒนาไปตามธรรมชาติเป็นความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดีงาม มีความกระตือรือร้น     และหลักการจัดการศึกษา/การสอน การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่ 
                        
                  http://corino.multiply.com/journal/item/1 กล่าวว่าทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่ และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก
                         สรุป   การพัฒนาไปตามธรรมชาติเป็นความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้มี3 ลักษณะ คือคน  สัตว์  และ คุณธรรม ซึ่งมีลักษณะของการรู้จักรับผิดชอบชั่วดี คนจะต้องมีการพัฒนาใน 3 ลักษณะดังกล่าว     มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดีงาม มีความกระตือรือร้นและหลักการจัดการศึกษา/การสอน สื่อและการจัดประสบการณ์ทางธรรมชาติทำให้เด็กเรียนรู้ได้ดีและจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่ 
             ที่มา    สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา.(http://surinx.blogspot.com//)  เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2555
             ที่มา   ทิศนา แขมมณี. 2554. ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. หน้า 45-48
             ที่มา   http://corino.multiply.com/journal/item/1 เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น