หน้าเว็บ

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ชื่อเรื่อง


รศ.ดร.บุญชม ศรีสะอาด(2546 : 165) กล่าวว่าชื่อเรื่องที่จะวิจัยต้องตรงกับปัญหาที่ศึกษา มีความเฉพาะเจาะจง ใช้ภาษาที่กะทัดรัด มีความชัดเจนและไม่ซ้ำซ้อนกับเรื่องอื่นๆที่มีผู้วิจัยแล้ว
เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์ (2534 : 32) กล่าวว่าต้องเป็นชื่อที่กะทัดรัด มีเนื้อความที่ชัดเจน มีความหมายในตัวมันเอง โดยสามารถสื่อความหมายให้ผู้อื่นทราบได้ต้องตั้งชื่อให้แสดงถึงมโนมติ (Concept) ของตัวแปรหรือแสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรในปัญหานั้นๆ ต้องใช้ภาษาให้ชัดเจนเข้าใจง่าย ต้องไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยของผู้อื่น ถึงแม้ประเด็นที่ศึกษาจะคล้ายกันก็ตาม
รศ.ดร.ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และ อ.อัจฉรา ชำนิประศาสน์ (2537 : 33) กล่าวว่า การตั้งชื่อเรื่องวิจัยมีแนวคิดแบ่งออกได้เป็น2แนวคิดคือการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้มีความหมาย มีความยาวเท่าใดก็ได้แต่ต้องกำหนดขอบเขตให้ชัดเจน ให้ผู้อ่านงานวิจัยรู้ว่าทำการวิจัยอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อใด การตั้งชื่อเรื่องวิจัยอย่างสั้นๆที่บอกความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ส่วนรายละเอียดอื่นๆจะอยู่ในขอบเขตของการวิจัย
สรุป
ชื่อเรื่องที่จะวิจัยต้องตรงกับปัญหาที่ศึกษา มีความเฉพาะเจาะจง ใช้ภาษาที่กะทัดรัด ต้องใช้ภาษาให้ชัดเจน เข้าใจง่าย ต้องตั้งชื่อให้แสดงถึงมโนมติ(Concept) ของตัวแปรหรือแสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรในปัญหานั้นๆการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้มีความหมาย มีความยาวเท่าใดก็ได้แต่ต้อง กำหนดขอบเขตให้ชัดเจน ให้ผู้อ่านงานวิจัยรู้ว่าทำการวิจัยอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อใด การตั้งชื่อเรื่องวิจัยอย่างสั้นๆ ที่บอกความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ส่วนรายละเอียดอื่นๆจะอยู่ในขอบเขตของการวิจัย
ที่มา
บุญชม ศรีสะอาด.  (2546).  การวิจัยเบื้องต้น.  กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. 
            ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์.  และอัจฉรา ชำนิประศาสน์.  (2537).  ระเบียบวิธีการวิจัย.  กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพิ์.
            เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์.  (2534).  การวิจัยเทคโนโลยีการศึกษา.  กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น