หน้าเว็บ

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

คำถามของการวิจัย


         สุวิมล ว่องวาณิช และ นงลักษณ์  วิรัชชัย (2550 :149-150) ได้อธิบายความหมายไว้ว่า คำถามวิจัย หมายถึง ข้อความที่เป็นประโยคคำถาม ซึ่งแสดงให้เห็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการค้นหาคำตอบ คำถามวิจัยและประเด็นวิจัยมีความคล้ายคลึงกัน
            อาทิวรรณ โชติพฤกษ์  (2553 : 7)  กล่าวว่า การตั้งคำถามเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะคำถามวิจัยที่ผู้วิจัยตั้งขึ้นบ่งบอกให้ทราบถึงประเด็นที่ผู้วิจัยต้อง การทราบหรือทำความเข้าใจในเรื่องที่เลือกเป็นหัวข้อวิจัยนั้นๆ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้วิจัยประเมินว่าต้องทำงานวิจัยอย่างไรและในทิศทางใด จึงจะนำไปสู่คำตอบของคำถามนั้นๆ  ทั้งนี้ผู้วิจัยอาจเริ่มตั้งคำถามด้วยวลีคำถาม เช่น  อะไร  อย่างไร  ที่ไหน  เมื่อไร  กับใคร
             องอาจ  นัยพัฒน์  (2551 : 43-44) ให้แนวทางไว้ว่า การเขียนปัญหาการวิจัย ในรูปคำถามสามารถเขียนได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
            1. ประเด็นคำถามเชิงพรรณนา ได้แก่ การกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัยในรูปคำถามที่ว่า อะไรคือ อะไรเป็น
การตอบประเด็นคำถามดังกล่าวนี้ แสดงเป็นนัยว่า นักวิจัยจะต้องอาศัยการวิจัยเชิงสำรวจ 
            2. ประเด็นคำถามเชิงความสัมพันธ์  ได้แก่ การกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัย ในรูปของคำถามที่มุ่งหาคำตอบว่า
ตัวแปร มีความสัมพันธ์กับตัวแปร Y หรือไม่”  หรือ ตัวแปร พยากรณ์ตัวแปร Y ได้หรือไม่”  การสืบหาคำตอบของคำถามทั้ง 2 ประเด็นนี้ แสดงเป็นนัยว่านักวิจัยต้องออกแบบการวิจัยเป็นประเภทการศึกษาสหสัมพันธ์
             3. ประเด็นคำถามเชิงเปรียบเทียบ ได้แก่ การกำหนดหัวข้อปัญหาวิจัย ในรูปของคำถามที่มุ่งเน้นการเปรียบเทียบพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ที่สนใจ ระหว่างกลุ่มควบคุมที่ที่ดำเนินตามสภาวะปกติและกลุ่มทดลองที่จัดกระทำทางการ ทดลองขึ้น กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ รูปแบบของคำถามประเภทนี้มุ่งหาคำตอบว่า  มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่างหรือวิธีการที่นักวิจัยดำเนินการขึ้นหรือไม่”  คำถามวิจัยประเภทนี้ต้องอาศัยแบบการวิจัยเชิงทดลองหรือการศึกษาย้อนรอยเปรียบเทียบหาสาเหตุ มาใช้ในการสืบค้นหาคำตอบ
              สรุป
               คำถามของการวิจัย การตั้งคำถามการวิจัยนั้นต้องให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ข้อความของประโยดคำถามต้องชัดเจน ต้องการค้นหาคำตอบ ตรงประเด็นที่ผู้วิจัยต้องการทราบ และช่วยให้ผู้วิจัยประเมินได้ว่าจำทำงานวิจัยไปในทิศทางใด เพื่อที่จะนำไปสู่คำตอบของคำถามนั้น
               ที่มา
               สุวิมล  ว่องวานิช.  (2550).   แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์.   (พิมพ์ครั้งที่ 2).  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
               องอาจ นัยพัฒน์.  (2551).  วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.  (พิมพ์ครั้งที่ 3).   กรุงเทพมหานคร : สามลดา.
               อาทิวรรณ  โชติพฤกษ์.  (2553).  ก้าวสู่ความเป็นนักวิจัยมืออาชีพ.  กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น