หน้าเว็บ

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง


สุวิมล ติรกานันท์ (2548:53) กล่าว่าการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องนั้นมี 5 ประการ ดังนี้
               1.ป้องกันการทำซ้ำซ้อน
               2.ทำให้สามารถกำหนดขอบเขตได้ชัดเจนไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป
               3.ทำให้ผู้วิจัยเสนอแนวคิดหรืออภิปรายผลงานวิจัยที่ค้นพบได้ถูกต้องและกว้างขว้างครอบคลุมประเด็นที่ต้องศึกษา
              4.เตรียมการป้องกันความคลาดเคลื่อนเนื่องจากตัวแปรแทรกซ้อน
              5.ช่วยทำให้ผู้วิจัยมีความรู้ในเรื่องที่ทำการวิจัยมากขึ้น เป็นการทบทวนความรู้เดิมและเพิ่มเติมความรู้ใหม่ ในเวลาเดียวกัน
        องอาจ นัยพัฒน์ (2548:63-64) กล่าวว่า การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องนั้นมีทั้งหมด 6 ประการ ดังนี้
                       1.ช่วยให้นักวิจัยได้กรอบแนวคิดทฤษฎีในการวิจัย
                       2.ช่วยในการนิยามและกำหนดขอบเขตของหัวข้อปัญหาการวิจัย
                       3.ช่วยหลีกเลี่ยงการทำวิจัยที่มีความสำคัญน้อยและซ้ำซ้อนกัน
                       4.ช่วยในการกำหนดและปรับปรุงระเบียบวิธีการวิจัย
                       5.ช่วยในการตั้งสมมติฐานในการวิจัยเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม
                       6.ช่วยให้ได้แนวทางใหม่สำหรับการวิจัยในโอกาสต่อไป
      ล้วน สายยศ และ อังคนาสายยศ (2528:34-35) กล่าวว่าการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมี 7 ประการ ดังนี้
                      1.เพื่อค้นหาความจริงเป็นความจริงระดับสูงที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าเป็นอย่างไร
                      2.เพื่อช่วยในการนิยามปัญหา นิยามเรื่องวิจัยให้กระจ่าง มีทิศทางที่ชัดเจน
                      3.ช่วยในการเลือกหัวข้อวิจัยได้ตรงจุดมากขึ้น
                      4.ช่วยให้ทราบเทคนิคการวิจัย
                      5.หลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อน
                      6.ช่วยในการแปลความหมายข้อมูล
                      7.ช่วยในการจัดทำรายงานวิจัยได้ถูกต้อง
                      สรุป
                      จากที่กล่าวมาข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า ทบทวนวรรณกรรม มี7 ประการดังนี้
                     1.ทำให้สามารถกำหนดขอบเขตได้ชัดเจนไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป
                     2.ทำให้ผู้วิจัยเสนอแนวคิดหรืออภิปรายผลงานวิจัยที่ค้นพบได้ถูกต้องและกว้างขว้างครอบคลุมประเด็นที่ต้องศึกษา
                    3.ช่วยในการเลือกหัวข้อวิจัยได้ตรงจุดมากขึ้น
                    4.หลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อน
                    5.ช่วยทำให้ผู้วิจัยมีความรู้ในเรื่องที่ทำการวิจัยมากขึ้น เป็นการทบทวนความรู้เดิมและเพิ่มเติมความรู้ใหม่ ในเวลาเดียวกัน
                   6.เพื่อค้นหาความจริงเป็นความจริงระดับสูงที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าเป็นอย่างไร
                   7.ช่วยหลีกเลี่ยงการทำวิจัยที่มีความสำคัญน้อยและซ้ำซ้อนกัน
           ที่มา
           ล้วน สายยศ และอังคนา สายยศ.  (2555, ธันวาคม 26).  ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง.   http://http://netra.lpru.ac.th
           สุวิมล ติรภานันท์.  (2548).  ระเบียบการวิจัยทางสังคมศาสตร์.  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
            องอาจ นัยพัฒน์.  (2548).  วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และ  สังคมศาสตร์.  กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น