หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

ระเบียบวิธีวิจัย


                พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2547 : 153) กล่าวว่า ระเบียบวิธีวิจัยเป็นวิธีการที่ใช้สืบแสะหาความรู้ความจริง ซึ่งมีรูปแบบในการหาความรู้ ความจริงต่างๆกันหลายรูปแบบ ผู้วิจัยควรจะเลือกใช้ให้เหมาะกับจุดมุ่งหมายของการวิจัยหรือธรรมชาติของสิ่งที่จะศึกษา

                สุทิติ ขัตติยะ,วิไลลักษณ์ สุวจิตตานนท์ (2553 : 29) อ้างถึง Black & Champion.1976 ว่า เป็นคำที่มีความหมายครอบคลุมทั้งหมดของกระบวนการดำเนินการวิจัย นับตั้งแต่ปัญหาการวิจัย รูปแบบการวิจัย วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล การตีความและสรุปการวิจัย ซึ่งรูปแบบการวิจัยเกี่ยวข้องกับการออกแบบการวิจัยเป็นแกนประสานปัญหาการวิจัยกับวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล

                รัตนะ บัวสนธ์ (2551) กล่าวว่า ระเบียบวิธีวิจัย หมายถึง กระบวนทัศน์ (Paradigm) ทฤษฎี หลักการ และกระบวนการดำเนินงานทุกขั้นตอน จึงครอบคลุมไปถึงวิธีการและเทคนิคของการวิจัยด้วย ซึ่งวิธีการและเทคนิคของการวิจัยเป็นเรื่องของกาทำกิจกรรมขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการวิจัยเท่านั้น

สรุป
                 ระเบียบวิธีวิจัย เป็นเสมือนแนวทางหลักในการแสวงหาคำตอบตามประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจโดยผู้วิจัยต้องเลือกระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสม และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการวิจัย กรอบแนวคิด ทฤษฎีที่สนับสนุนการวิจัย ตลอดจนลักษณะของข้อมูลที่ต้องการเก็บรวบรวม

อ้างอิง
           พิชิต ฤทธิ์จรูญ.  (2547).  ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์.  (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ:เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์.
           สุทิติ ขัตติยะ  และวิไลลักษณ์ สุวจิตตานนท์.  (2553).  แบบแผนการวิจัยและสถิติ.  (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : เปเปอร์เฮาส์.
          รัตนะ บัวสนธ์.  (2551).  ปรัชญาวิจัย กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น