หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

รูปแบบการวิจัย


               บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์(2533:16)ได้กล่าวว่า รูปแบบการวิจัย(Research Design)เป็นการสำรวจให้ทราบว่าประเด็นปัญหาในทำนองที่สนใจนั้น มีใครทำวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้าง มีการควบคุมตัวแปรภายนอกอย่างไร มีอะไรบ้างเป็นประชากร สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการอย่างไร เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร ใช้สถิติอะไรบ้าง

                ผศ.เรืองอุไร ศรีนิลทา(2535:228)ได้กล่าวว่า รูปแบบการวิจัยจะต้องมีรูปแบบ(format)ตามที่หน่วยงานที่กำกับการดำเนินงานวิจัยหรือองค์กรที่จะตีพิมพ์งานวิจัยออกเผยแพร่กำหนด รูปแบบของการวิจัย เป็นแนวทางโดยทั่วไปของการจัดรายละเอียดให้เป็นหมวดหมู่ และการเรียงลำดับรายละเอียดของงานวิจัยนั้น รูปแบบของการเขียนรายงานวิจัยที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีอยู่มากมาย โดยปกติหน่วยงานที่กำกับการดำเนินงานวิจัยแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งองค์กรที่ตีพิมพ์รายงานการวิจัยออกเผยแพร่แต่ละองค์กรด้วย จะกำหนดรูปแบบของรายงานวิจัยนั้นขึ้น เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายถือปฏิบัติฉะนั้น ก่อนที่จะเริ่มเขียนรายงานวิจัย ผู้วิจัยจึงจำเป็นต้องศึกษารูปแบบของรายงานการวิจัยที่หน่วยงานกำกับการดำเนินงานวิจัยของตน และองค์กรที่ตนประสงค์จะให้ตีพิมพ์รายงานวิจัยของตนออกเผยแพร่  กำหนดและทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้กับรายละเอียดที่สำคัญต่างๆของรูปแบบนั้น  แล้วปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการเขียนรายงานวิจัย

                ไพศาล หวังพานิช(2531:80)ได้กล่าวว่า รูปแบบการวิจัย เป็นแบบการวิจัยจะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถหาคำตอบของปัญหาที่ต้องการศึกษาค้นคว้าได้อย่างถูกต้องแบบการวิจัยมีหลายแบบด้วยกัน ซึ้งมีตั้งแต่แบบที่ง่ายไปจนถึงแบบที่สลับซับซ้อนการที่ผู้วิจัยจะเลือกใช้แบบใดนั้นขึ้นอยู่กับปัญหาที่ต้องการศึกษา ต้องการคำตอบในเรื่องใดบ้าง ลึกซึงแค่ไหน

       สรุป
                รูปแบบการวิจัย    (Research Design) เป็นการสำรวจให้ทราบว่าประเด็นปัญหาในทำนองที่สนใจนั้นเป็นการวิจัยที่ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถหาคำตอบของปัญหาที่ต้องศึกษาค้นคว้าได้อย่างถูกต้องตามที่หน่วยงานกำหนดหรือกำกับการดำเนินงานวิจัยของการจัดรายละเอียดให้เป็นหมวดหมู่และการเรียงลำดับรายละเอียดของงานวิจัยนั้น เช่นตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้าง มีการควบคุมตัวแปรภายนอกอย่างไร ฯ ทำความเข้าใจกับรายละเอียดที่สำคัญต่างๆ ของรูปแบบนั้นแล้วปฏิบัติตามนั้นอย่างเคร่งครัด

       อ้างอิง
                    บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์.  (2533).  การวิจัย การวัดและประเมินผล.  กรุงเทพฯ : ศรีอนันต์.
                    เรืองอุไร ศรีนิลทา  .(2535).  ระเบียบวิธีวิจัย.  กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
                   ไพศาล หวังพานิช.  (2531).  วิธีการวิจัย.  กรุงเทพฯ : งานส่งเสริมวิจัยและตำรากองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น