หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

ข้อตกลงเบื้องต้น


               พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544 : 376) เป็นการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการทำวิจัยและผลการวิจัยที่ได้รับซึ่งจะต้องเป็นที่ยอมรับได้ โดยไม่ต้องพิสูจน์แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักเหตุผล มีหลักฐานข้อเท็จจริงสนับสนุนอ้างอิงและเชื่อถือได้

                พรศรี ศรีอัษฎาพร, ยุวดี วัฒนานนท์  (2529 : 161) เป็นข้อเท็จจริงพื้นฐานของการวิจัยที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า เป็นความจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์ ช่วยให้ผู้ทำวิจัยและผู้อ่านเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับตัวแปรที่ต้องการศึกษา ในการวิจัยจำเป็นต้องมีข้อตกลงเบื้องต้นก็เพื่อต้องการกำหนดเงื่อนไขหรือตัวแปรบางอย่างให้ตายตัวเป็นการขจัดข้อขัดแย้งไม่ให้มองในลักษณะอื่น จะได้พิจารณาความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ต้องการศึกษาได้แจ่มแจ้งง่ายต่อการตีความหมายข้อมูลและสรุปผล

                องอาจ นัยพัฒน์ (2548 : 401) เป็นการเขียนเพื่อแถลงการให้ผู้อ่านทราบกรอบบังคับหรือปัจจัยพื้นฐานบางประการที่ทำให้การดำเนินการวิจัยไม่สามารถกระทำได้อย่างสมบูรณ์เท่าที่ควรจะเป็น อันเป็นผลให้ข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษาวิจัยสรุปอ้างอิงไปสู่ประชากรภายใต้ขอบเขตจำกัด ๆไม่สามารถขยายข้อค้นพบจากการวิจัยไปสู่วงกว้างได้ กล่าวคือการกำหนดขอบเขตของการวิจัยให้กว้างหรือแคบมีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อจำกัดของการศึกษาวิจัย



สรุป
                ข้อตกลงเบื้องต้น เป็นการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการทำวิจัยและผลการวิจัยที่ได้รับซึ่งจะต้องเป็นที่ยอมรับได้ โดยไม่ต้องพิสูจน์แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักเหตุผล มีหลักฐานข้อเท็จจริงสนับสนุนอ้างอิงและเชื่อถือได้
               
อ้างอิง
              พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2544).  ระเบียบวิธีการวิจัยทางสัมคมศาสตร์. กรุงเทพฯ ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร. 
             พรศรี ศรีอัษฎาพร. และยุวดี วัฒนานนท์.  (2529).  สถิติและการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ สามเจริญพานิช.
             องอาจ นัยพัฒน์.  (2548).  วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.  กรุงเทพฯ :สามลดา.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น